การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารในปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญที่เผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้โดยผ่านสื่อกลางต่างๆ
2.1) สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสาร้อมูลในคอมพิวเตอร์ มีสื่อกลางสำหรับเชื่อมโยงสถานีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆเข้าด้วยกัน
1.) สื่อกลางทางกายภาพ (Physical media) เป็นการเชื่อมโยงสถานีระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล
ตัวอย่างเช่น
1.1) สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable หรือ TP) ประกอบด้วยสายทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 4 คู่ สายตีเกลียวคู่เป็นตัวกลางที่ใช้ส่งสัญญาณเสีบงและข้อมูลได้ในระยะเวลานาน นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์
1.2) สายโคแอกเชียล (coaxial cable) ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลาง สามารถส่งข้อมูลได้มากว่าสายเกียวคู่ประมาณ 80 เท่า ใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์
1.3) สายใยแก้วนำแสง (fiberoptic cable) ประกอบด้วยเส้นใยแก้วขนาดเล็ก การส่งข้อมูลใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง 26,000 เท่าของสายตีเกียวคู่
2 ) สื่อกลางไร้สาย (wireless media) เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล ตัวอย่างสื่อกลางไร้สายมีดังนี้
2.1) อินฟาเรด (infrared) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลในระยะไม่ไกล
2.2) คลื่นวิทยุ (radio wave ) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เครื่องรับส่ง (transceiver) ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุจาดอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่
2.3) ไมโครเวฟ (microwave) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความเร็วสูงสามารถส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือหักเลี้ยวได้ นิยมใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน
2.4 ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นที่เดินทางในแนวเส้นตรง ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น
ลักษณะ การส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า การเชื่อมโยงขึ้นหรืออัปลิ้งค์ (uplink) ส่วนการรับข้อมูลจากดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน เรียกว่า การเชื่อมโยงลงหรือดาวน์ลิงค์ (down link) ทั้งนี้มีระบบ เทคโนโลยีที่อาศัย การทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก คือ ระบบจีพีเอส เช่น การติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอส ไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น