ยินดีต้อนรับสู่ บล็อคกลุ่ม Tecnology Unit 3

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ตัวชี้วัด

  
ตัวชี้วัด

ง 3.1 ม.4-6/3
- อธิบายระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

- ระบบสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วย ข่าวสาร ผู้ส่ง ผู้รับ สื่อกลาง โพรโตคอล
- วิธีการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานและแบบอนุกรม

ความซื่อสัตย์

☻ความซื่อสัตย์☻


ความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะ ว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตน ทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง 
การ จะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตน เองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วย ความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้น

ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่าย
1. ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่าย
 การสื่อสารข้อมูลเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง โดยอาศัยการสื่อสารโดยเครื่องมือต่างๆ เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์  เป็นต้น
1.1 ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ารสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสารหรือสื่อ   ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักจะอยู่ห่างไกลกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป  เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล
1.2 องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล มีดังนี้
1) ข่าวสาร เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ส่งทำการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร
2) ผู้ส่ง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลอยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล
3) ผู้รับ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูล
4) สื่อกลางหรือตัวกลาง เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่นำข่าวสารรูปแบบต่างๆจากผู้ส่งไปยังผู้รับ 
5) โพรโตคอล  เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้ในการสื่อสาร


ซอฟต์แวร์ เป็นโปแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนด

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูล






การสื่อสารข้อมูล


การสื่อสารในปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญที่เผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้โดยผ่านสื่อกลางต่างๆ


 2.1) สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล
 การสื่อสาร้อมูลในคอมพิวเตอร์ มีสื่อกลางสำหรับเชื่อมโยงสถานีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆเข้าด้วยกัน 
  1.) สื่อกลางทางกายภาพ (Physical media) เป็นการเชื่อมโยงสถานีระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล
   ตัวอย่างเช่น  
1.1) สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable หรือ TP) ประกอบด้วยสายทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 4 คู่  สายตีเกลียวคู่เป็นตัวกลางที่ใช้ส่งสัญญาณเสีบงและข้อมูลได้ในระยะเวลานาน นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์

1.2) สายโคแอกเชียล (coaxial cable) ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลาง  สามารถส่งข้อมูลได้มากว่าสายเกียวคู่ประมาณ 80 เท่า ใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์


 1.3) สายใยแก้วนำแสง (fiberoptic cable) ประกอบด้วยเส้นใยแก้วขนาดเล็ก การส่งข้อมูลใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง 26,000 เท่าของสายตีเกียวคู่ 
 

2 ) สื่อกลางไร้สาย (wireless media)  เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล  ตัวอย่างสื่อกลางไร้สายมีดังนี้


2.1) อินฟาเรด (infrared) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลในระยะไม่ไกล 


2.2) คลื่นวิทยุ (radio wave ) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เครื่องรับส่ง (transceiver) ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุจาดอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่


2.3)  ไมโครเวฟ (microwave) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความเร็วสูงสามารถส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือหักเลี้ยวได้    นิยมใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน


2.4 ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นที่เดินทางในแนวเส้นตรง  ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น
ลักษณะ การส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า การเชื่อมโยงขึ้นหรืออัปลิ้งค์ (uplink)  ส่วนการรับข้อมูลจากดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน เรียกว่า การเชื่อมโยงลงหรือดาวน์ลิงค์ (down link) ทั้งนี้มีระบบ เทคโนโลยีที่อาศัย การทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก  คือ ระบบจีพีเอส  เช่น การติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอส ไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่ 
http://3.bp.blogspot.com/-CMBNT8CElKA/TxquW1ceD_I/AAAAAAAAAG0/85lfbT2AcsY/s320/311CB_2_BA1D8.jpg